นักวิชาการ ชี้ ตร.ไม่ตั้งข้อหาเมาขับ คนขับรถหรูปัดเป่าแอลกอฮอล์

นักวิชาการ ชี้ ตร.ไม่ตั้งข้อหาเมาขับ คนขับรถหรูปัดเป่าแอลกอฮอล์ ขุดข้อมูลตอกกลับ ดื่มน้ำล้างกระเพาะ ลำไส้ก่อนขอตรวจเลือด มีผลลดระดับแอลกอฮอล์ สกิดสังคมต้องยอมพวกมีเงินเมินกฎหมายก่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับซ้ำซาก

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากรายงานข่าวมีผู้ขับรถหรูเบนท์ลีย์ บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากถนนสุขสวัสดิ์มุ่งหน้าไปดินแดง ด้วยความเร็ว อีกทั้งยังมีพฤติกรรมขับแซงซ้ายแล้วเบี่ยงขวาก่อนจะพุ่งเข้าชนท้ายรถยนต์มิตซูบิชิ ปาเจโร สีดำ ที่วิ่งอยู่เลนกลาง เสียหลักหมุนพุ่งชนขอบทางติดช่องทางขวาสุด และชนเข้ากับรถดับเพลง อปพร.บางรัก ที่กำลังเดินทางไประงับเหตุไฟไหม้ย่านอุดมสุข เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย ต่อมาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสังเกว่าผู้ขับรถหรูมีอาการมึนเมาจึงขอให้มีการเป่าเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ แต่เจ้าตัวกลับไม่ยอม และพยายามไปดื่มน้ำ ก่อนจะมาทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าผู้ขับรถยนหรูดังกล่าวขอตรวจเลือดที่โรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าผลการตรวจจะออกอย่างเร็วสุดใน 7 วัน เป็นที่น่าสังเกตว่ากลับไม่มีการตั้งข้อหาเมาแล้วขับ ทั้งที่มาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ที่ระบุว่าหากมีพฤติการควรเชื่อว่าเมาแล้วขับ แต่ไม่ยินยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ในที่เกิดเหตุโดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นการเมาแล้วขับ

“ในกรณีนี้ผมอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า หากไม่เมาจริงๆ จะกลัวการเป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ทันทีในที่เกิดเหตุทำไม ซึ่งตามมาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ระบุว่า “ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2)” นั่นคือ การขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาว่าเมาแล้วขับ” ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี กล่าวต่อว่า จากหลักฐานวิชาการประกอบข้อแนะนําสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 พบว่า ระดับของแอลกอฮอล์จะลดลงประมาณ 15-20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในคนทั่วไป และประมาณ 25-35 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในผู้ดื่มประจำมาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น การที่ผู้ก่อเหตุขอตรวจเลือดในภายหลังย่อมมีผลต่อระดับปริมาณแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน บวกกับที่พยายามจะดื่มน้ำ ก็จะยิ่งทำให้กระเพาะและสำไส้ดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้นด้วย ดังนั้นสังคมจะต้องยอมรับกับผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ซ้ำๆ จากความประมาท และพยายามที่จะเลี่ยงความผิดจากการดื่มแล้วขับ เพียงเพราะเป็นคงดัง รวย และมีอำนาจเช่นนั้นหรือ.

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *