บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ศูนย์แห่งความเป็นเลิศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง กรุงเทพฯ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงผลกระทบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกมิติในวงกว้าง การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจำเป็นต้องมีข้อมูลภูมิอากาศในอดีต และการคาดประมาณในอนาคตเพื่อเป็นทิศทางในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นรวมถึงนโยบายในการรองรับการแก้ไขปัญหา
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะองค์กรซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ริเริ่ม ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ จึงให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่โครงการภายใต้การดำเนินงานของ “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง กรุงเทพฯ (Digital Belt and Road International Center of Excellent, DBAR ICoE-Bangkok)” ได้แก่

  1. โครงการการประเมินความสามารถการจำลองภูมิอากาศของแบบจำลอง CAS-ESM และการคาดประมาณการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับภูมิภาคและพลังงานทดแทน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    ซึ่งดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาข้อมูลภูมิอากาศความละเอียดสูงจากแบบจำลอง CMIP6-CAS-ESM และร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SARCCIS) เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลภูมิอากาศสู่สากล
  2. การประเมินเชิงบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจโลก ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย โดยคณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคลังข้อมูลแบบองค์รวม ทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และพัฒนาแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์สารสนเทศทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค เพื่อเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องที่ใช้ได้จริง และสามารถเข้าถึงได้ง่าย
    ซึ่งผลการดำเนินงานจากทั้ง 2 โครงการ สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *