พีอาร์โอไอ เครือข่ายเอเจนซีระดับโลก เตือนภัยข้อมูลเท็จและข่าวปลอมมีอัตราพุ่งสูงในปี 2022

พีอาร์โอไอ เครือข่ายเอเจนซีระดับโลก เตือนภัยข้อมูลเท็จและข่าวปลอมมีอัตราพุ่งสูงในปี 2022 ตอกย้ำองค์กรต่าง ๆ วางแผนตั้งรับข้อมูลเท็จและข่าวปลอมอย่างเร่งด่วน

กรุงเทพฯ กุมภาพันธ์ 2565 – พีอาร์โอไอ เวิลด์ไวด์ (PROI Worldwide) เครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กรธุรกิจประชาสัมพันธ์และการสื่อสารระดับสากล เตือนภัยถึงข้อมูลเท็จและข่าวปลอมที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2022 เมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารใน 50 ประเทศ ทำให้พีอาร์โอไอคาดการณ์ถึงภัยคุกคามทางข้อมูลที่จะมีปริมาณมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของวิกฤติด้านการสื่อสารที่เกิดจากข้อมูลเท็จ

มืออาชีพด้านประชาสัมพันธ์ต่างเน้นย้ำอยู่เสมอถึงความสำคัญของการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจประชาสัมพันธ์จะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างความเชื่อมั่นว่าข้อมูลที่ส่งออกไปนั้นจะมีความถูกต้องเสมอ อย่างไรก็ดี ข้อมูลบางอย่างที่ถูกเผยแพร่ออกไปโดยมืออาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน หรือผู้ใช้โซเชียลมีเดีย อาจไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด หรือแม้แต่อาจมีเจตนาหลอกลวง จนก่อทำให้เกิดประเด็น “ข่าวปลอม” ซึ่งกลายเป็นหัวข้อพูดคุยหลักในปัจจุบัน และเมื่อผู้คนใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชันส่งข้อความเพิ่มมากขึ้น ทำให้กลุ่มปฏิบัติการด้านข่าวสาร (Psyops) และข้อมูลเท็จสามารถสร้างผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรต่าง ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะถ้าองค์กรนั้นกลายเป็นเป้าโจมตีของข่าวปลอมที่ถูกแต่งขึ้นทั้งหมด

“ปัญหาที่แท้จริงของข่าวปลอมไม่ใช่ว่าคนที่ปล่อยข่าวปลอมนั้นต้องการจะทำให้คนอื่น ๆ เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง” Karin Lohitnavy ผู้ก่อตั้งและ Master Connector มิดัส พีอาร์ กรุ๊ป กล่าว “สิ่งที่อันตรายไม่ใช่แค่การกล่าวอ้างผิด ๆ แต่ความจริงเบื้องหลังการกล่าวอ้างข้อมูลผิด ๆ เหล่านี้คือบุคคลที่มุ่งร้ายทำลายอีกฝ่ายให้พบจุดจบและผู้ที่มีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น เพราะแท้จริงแล้วข่าวปลอมไม่ใช่เพียงแค่การให้ข้อมูลเท็จเท่านั้น ดังนั้นการตรวจสอบข่าวปลอมในเชิงค้นหาว่าข่าวนั้นจริงหรือเท็จจึงเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ เพราะข่าวปลอมไม่เคยพยายามบอกความจริงอยู่แล้ว และผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างหรือปล่อยข่าวปลอมนั้นย่อมไม่ต้องการแจ้งข่าวสารอะไร พวกเขาเพียงแค่ต้องการสร้างผลลัพธ์ในกลุ่มผู้รับสารในด้านการตอกย้ำความเชื่อในระดับรากฐานทางสังคม ภาพพจน์ และอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์บางอย่างเท่านั้น”

เนื่องจากไม่มีใครหยุดข่าวปลอมได้ ซึ่งในความเป็นจริง ข่าวปลอมและข้อมูลเท็จกลับแพร่กระจายและทวีความซับซ้อนได้มากขึ้นจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตลอดปี 2021 ที่ผ่านมา โลกได้เห็นการแพร่ของข้อมูลเท็จอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และข้อมูลวัคซีน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ข่าวลือบนโลกออนไลน์แพร่สะพัดว่าวัคซีนโควิด-19 คืออาวุธชีวภาพที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำร้ายมนุษย์ทางอ้อม ข่าวลือนี้ยังบอกอีกว่าผู้ที่รับวัคซีนจะอยู่ได้ไม่นานหลังการฉีด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการสืบสวนสำนักข่าวซินหัวไทย ซึ่งเป็นต้นตอของข่าวลือนี้ และได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ ยังมีข่าวลือเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่บอกว่าจะทำให้เกิดภูมิต้านทานมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รวมถึงการกล่าวอ้างโดยไม่มีมูลความจริงเกี่ยวกับผลของใบกระท่อมในการรักษาโรคโควิด

แม้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคโควิดเคยเป็นหนึ่งในกรณีที่ถูกถกเถียงกันมากที่สุด หากปัญหาของข่าวปลอมนั้นกลับแผ่ขยายกว้างขึ้นและอาจส่งผลกระทบกับองค์กรต่าง ๆ ได้ “องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับประเด็นหรือข่าวปลอมที่ค่อนข้างร้ายแรงในหลายระดับแตกต่างกัน ซึ่งถ้ารับมืออย่างไร้ประสิทธิภาพ ไม่ว่าข่าวนั้นจะรุนแรงระดับไหนก็สามารถกลายเป็นวิกฤติขั้นร้ายแรงและอาจสร้างความเลวร้ายต่อการอยู่รอดของธุรกิจได้” โจโจ เอส นูโกรโฮ กรรมการผู้จัดการ Imogen PR อินโดนีเซีย กล่าว

“พีอาร์โอไอในฐานะพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดของเครือข่ายเอเจนซีพีอาร์ ซึ่งมีบริษัทที่ปรึกษาในประเทศที่ดำเนินงานอย่างอิสระกว่า 75 แห่งใน 50 ประเทศและ 110 เมืองทั่วโลก เราสามารถบริหารและนำเสนอชุดทักษะ รวมถึงประสบการณ์ และทรัพยากรจากหลากสาขาวิชาชีพทั่วโลก” ลีนา โซห์-อึ้ง แห่ง PROI Crisis Group ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประธานร่วมและที่ปรึกษาอาวุโสและพันธมิตรผู้ก่อตั้ง Distilleri สิงคโปร์ กล่าว

“เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าแผนการรับมือวิกฤติที่มีประสิทธิภาพที่สุดจะสามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ผ่านความร่วมมือเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและเชื่อมั่นในกันและกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถระบุภัยคุกคาม วิเคราะห์ และวางแผนรับมือได้ ทั้งการเล็งเห็นถึงความเสี่ยงที่สำคัญได้อย่างชัดเจน การจัดทำขั้นตอนการทำงานที่โปร่งใสต่อความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้น และการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแผนรับมือวิกฤติได้” เอเลน ฉัว ผู้อำนวยการบริหาร Priority Communications PR มาเลเซีย กล่าว

เมื่อมองไปข้างหน้า องค์กรต่าง ๆ ควรตระหนักถึงภัยคุกคาม และต้องมั่นใจว่ามีแผนการเตรียมความพร้อมรับมือวิกฤติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ” Karin Lohitnavy กล่าวสรุป “เราจำเป็นต้องรู้เท่าทันภัยคุกคามและกระตือรือร้นในการเร่งพัฒนาแผนรับมือวิกฤติก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อมันเกิดขึ้น เราจะสามารถปฏิบัติตามแผนได้ทันทีและแก้ไขเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว”

เกี่ยวกับ พีอาร์โอไอ
พีอาร์โอไอ เวิลด์ไวด์ ประสานความร่วมมือของบรรดาบริษัทด้านการสื่อสารเพื่อธุรกิจที่เปี่ยมประสิทธิภาพมากที่สุดของโลก ผ่านการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ทำให้เครือข่ายเอเจนซีของพีอาร์โอไอดำรงสถานะผู้นำในตลาด ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนแคมเปญการสื่อสารที่สร้างผลลัพธ์ในระดับสูงสุด

ในปี ค.ศ. 2022 พีอาร์โอไอมีพันธมิตร 83 รายทั่วโลก ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 6,900 คนใน 165 เมืองและ 50 ประเทศ โดยมีรายรับรวมราวหนึ่งพันล้านดอลลาร์ ทำให้พีอาร์โอไอถูกจัดให้เป็นกลุ่มบริษัทด้านการสื่อสารที่มั่นคงอันดับ 4 และเป็นเพียงแห่งเดียวใน 10 อันดับแรกที่ดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายพันธมิตรของผู้ประกอบการธุรกิจอิสระทั้งหมด

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *