กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม Young ซน จนได้เรื่อง ถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

(24 ธันวาคม 2566) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม Young ซน จนได้เรื่อง ถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนจากโครงการของผู้รับทุนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้านเด็กและเยาวชน ประจำปี 2564 จำนวน 38 โครงการ ณ โรงแรม De Prime Rangnam Hotel Tailor Hallเพื่อสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิต พัฒนาเนื้อหา และส่งเสริมผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม พัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัย และทักษะการรู้เท่าทันสื่อแก่เด็กและเยาวชน

กิจกรรม Young ซน จนได้เรื่องถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ได้รับเกียรติจาก ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2564 ประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน ผศ.ดร.พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์ ประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2564 ประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน ร่วมกับคณะทำงานติดตามและประเมินผล,แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร ,นางรัตนากร ทองสำราญ , ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปอลดภัยและสร้างสรรค์ และเครือข่ายด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เข้าร่วมงาน

ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก เป็นความตั้งใจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ต้องการเปิดโอกาสและเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้เด็กและเยาวชนได้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและได้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน

“ที่ผ่านมาเราพบว่าเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้รับทุน มีความสามารถในการผลิตสื่อที่มีฝีมือหลายโครงการ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าเมื่อเขาได้รับโอกาส ได้มีพื้นที่ปล่อยของสร้างสรรค์ ได้รับการไว้เนื้อเชื่อใจ เขาจึงตั้งใจผลิตผลงานเต็มที่ ทุนประเภทนี้มีความแตกต่างจากประเภทอื่น ไม่ใช่เน้นที่ผลงานอย่างเดียว แต่ต้องเน้นที่กระบวนการการเรียนรู้ การส่งเสริม การแลกเปลี่ยนวิธีคิด การบริหารจัดการ เพราะเวลาลงมือทำจริงอาจไม่เหมือนที่เขาคิดไว้”

การให้ทุนลักษณะนี้เป็นอีกภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ต้องการส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึง เข้าใจ และฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยนิเวศสื่อที่ดี รวมทั้งได้สร้างเครือข่าย ต่อยอดซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่มาของกิจกรรมในวันนี้ที่เด็กและเยาวชนได้มาแสดงผลงานและร่วมสรุปบทเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนทุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป

ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรม ในปี 2564 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสผลิตสื่อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสนำเสนอผลงานที่ดีออกสู่สังคม รวมทั้งนำสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้นมาถ่ายทอดสู่สังคม จากการดำเนินงานสนับสนุนเด็กและเยาวชนทำให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ผลงานสื่อจากเด็กและเยาวชนอย่างหลากหลายรวมทั้งเห็นกระบวนการทำงานร่วมกันของหลายฝ่ายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำไปสู่การเปิดพื้นที่ในการสนับสนุนการทำงานของเด็กและเยาวชนต่อไป

ภายในงานมีการจัดกิจกรรม Workshop ประชุมเชิงปฎิบัติการในการถอดบทเรียน 38 โครงการ โดย ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล นักวิชาการอิสระ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุปราณี วัฒนสิน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลักษมี คงลาภ นักวิชาการอิสระ พูดคุยทำความรู้จัก และถอดบทเรียนโครงการร่วมกับผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *