ศปอส.ภ.5 จับกุมเครือข่ายแก๊งโรแมนซ์สแกมเงินดำ คดี สภ.ช้างเผือก

วันเดือนปี 20 พฤศจิกายน 2564 การอำนวยการ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร., พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. , พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบช.ภ.๕ , พล.ต.ต.วีรชน บุญทวี รอง ผบช.ภ.5 , พล.ต.ต.ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ , พล.ต.ต.วรพงศ์ คำลือ ผบก.สส.ภ.5 สืบสวน เจ้าหน้าที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตำรวจภูธรภาค 5 (ศปอส.ภ.5) , เจ้าหน้าที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (ศปอส.ภ.จว.เชียงใหม่) , เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.ภ.5, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ช้างเผือก
ผู้ต้องหา จำนวน 2 คน ดังนี้

1. นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติซูดานใต้ ไม่ทราบวันเดือนปีเกิด ไม่ทราบหมายเลขหนังสือเดินทาง
เชื้อชาติ/สัญชาติ : ซูดานใต้
ข้อหา : เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต

แจ้งข้อหาเพิ่มเติม : ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน”
สถานที่จับกุม : หอพักดับเบิ้ลทรี (Double Tree Residence) เลขที่ 8 ถ.สายใจ
ต.ช้างเผือก อ.เมือง จว.เชียงใหม่
วันเดือนปีที่จับกุม : 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 20.30 น.

2. น.ส.อาภัสรา ชูสุวรรณ ชื่อเล่น เฟิร์น หมายเลขบัตรประชาชน 1-5704-00021-39-7 อายุ 25 ปี มีภูมิลำเนา อยู่บ้านเลขที่ 312 หมู่ 13 ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย เชื้อชาติ/สัญชาติ : ไทย
ข้อหา : ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่นหรือประชาชน จำนวน 1 หมายจับ ดังนี้
หมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่ จ.628/2564 ลงวันที่ 22 กันยายน 2564 สถานที่จับกุม : จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ต.อรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
วันเดือนปีที่จับกุม : 17 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 13.00 น.

พฤติการณ์ เมื่อประมาณปลายเดือนเมษายน 2564 คนร้ายได้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ “Chhorvin Charya” (ชอร์วิน ชาเรีย) และ Alex Williams (อเล็กซ์ วิลเลี่ยม) ซึ่งอ้างว่าเป็นศัลยแพทย์ทหาร กองทัพสหรัฐอเมริกา ทำงานอยู่ที่เมือง อเลปโป ประเทศซีเรีย และเมื่อเกษียณแล้วอยากเดินทางมาอยู่ที่ประเทศไทยด้วย ต่อมาคนร้ายแจ้งว่ามีทรัพย์สิน (เงินสด) จำนวนมาก จะส่งมาให้ผู้แจ้งทางพัสดุและจะเดินทางตามมาภายหลัง ได้มีคนร้ายอ้างเป็นพนักงานบริษัทขนส่ง และแจ้งว่ามีปัญหาเกี่ยวกับพัสดุที่จะส่งมาให้กับผู้เสียหาย และให้โอนเงินเป็นค่าธรรมเนียม และดำเนินการต่างๆ ในการจัดส่งพัสดุจำนวนหลายครั้ง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 6,759,000 บาท แต่ก็ยังไม่ได้รับสิ่งของ ต่อมาผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวแจ้งว่าจะมีเพื่อนชายชาวต่างชาติ จะเดินทางนำสิ่งของ (เงินสด) มาให้ผู้เสียหายที่บ้านพัก และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้มีชายชาวต่างชาติ ผิวดำ(ทราบภายหลังชื่อ นายจอร์นสัน ออสแมน (Jhonson Usman) สัญชาติ ซูดานใต้) ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายธนบัตรสหรัฐฯ ที่ถูกสารเคมีย้อมเป็นสีดำ

แต่สามารถใช้น้ำยาเคมีชนิดพิเศษล้างออกได้ โดยมีการสาธิตใช้น้ำยาล้างธนบัตรให้ดูด้วย และได้มอบธนบัตรสหรัฐที่ล้างเรียบร้อยไว้ให้จำนวน 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ตรวจสอบว่าล้างแล้วเป็นธนบัตรจริง รวมถึงได้มอบกระเป๋าบรรจุสิ่งของสีดำไว้ให้ 1 ใบ (ภายหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจยึดไว้พบว่าเป็นกระดาษมีลักษณะคล้ายธนบัตรดอลลาร์) อ้างว่าเป็นธนบัตรที่จะต้องใช้น้ำยาเคมีล้างเสียก่อนและห้ามเปิดดู อีก ทั้งแจ้งว่าจะต้องมีการสั่งซื้อน้ำยาเคมี เพื่อล้างธนบัตรดังกล่าว โดยอ้างว่าได้ทำขวดน้ำยาเคมีหล่นแตก และจะเดินทางกลับมาหาอีกครั้งในวันถัดไป ซึ่งผู้เสียหายได้มอบเงินสดให้กับชายชาวต่างชาติ ผิวดำ ไปจำนวนหนึ่ง จากนั้นได้เดินทางออกไป

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบแผนประทุษกรรมดังกล่าวแล้วเชื่อแน่ว่าเป็นกลุ่ม แก๊งอาชญากรรมกลุ่มเงินดำ ที่มีแผนประทุษกรรมหลอกว่ามีเงินจำนวนมากที่เป็นเงินเคลือบด้วยสารเคมีสีดำ และหากว่าไปซื้อน้ำยามาล้างจะได้เป็นธนบัตรดอลลาร์จริง และมีเงินดังกล่าวเก็บไว้จำนวนมาก เพื่อหลอกให้ผู้เสียหายช่วยจ่ายเงินค่าน้ำยา ฟอกเงิน แล้วจะนำเงินที่ฟอกแล้วมาแบ่งกัน เมื่อทราบดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้สืบสวนติดตาม จนไปจับกุมคนร้ายคือ นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติ ซูดานใต้ ได้ที่ หอพักดับเบิ้ลทรี (Double Tree Residence) เลขที่ 8 ถ.สายใจ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จว.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจากการตรวจสอบจากระบบฐานข้อมูลคนเข้าเมืองของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ไม่พบข้อมูลการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแต่อย่างใด ในความผิดฐาน
“เป็นคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” และจับกุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

ต่อมาจากการสืบสวนขยายผลพบว่า นายจอร์นสัน ออสแมน (Mr.Jhonson Usman) สัญชาติ ซูดานใต้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่ายโรแมนซ์สแกมในการหลอกลวงเอาเงินผู้เสียหายในคดีนี้ด้วย พนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน”

จากการสืบสวนสอบสวนขยายผลพนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก ได้ทำการขออนุมัติศาลจังหวัดเชียงใหม่ ออกหมายจับ น.ส.อาภัสรา ชูสุวรรณ ตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่ 628/2564 ลงวันที่ 22 กันยายน 2564 โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือประชาชน”

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 13.00 น.
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุมตัว น.ส.อาภัสรา ชูสุวรรณ ได้ที่ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วขณะกำลังข้ามแดนกลับมาที่ ประเทศไทย โดย น.ส.อาภัสราฯให้การรับสารภาพว่า มีหน้าที่จัดหาบัญชีธนาคาร ตามคำสั่งของแฟนหนุ่มชื่อ นายคริส (Chris Chester Armani) สัญชาติไนจีเรีย อาศัยอยู่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อใช้รับโอนเงินที่ได้จากการหลอกลวงบุคคลอื่น โดยบุคคลที่รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร จะได้รับค่าตอบแทนบัญชีละ 5,000 บาท และส่งมอบบัญชีธนาคารพร้อมซิมการ์ดโทรศัพท์ให้กับน.ส.อาภัสราฯ และนำบัญชีธนาคารพร้อมซิมการ์ดมามอบให้กับแฟนหนุ่มที ประเทศกัมพูชาจนต่อมาได้มาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม

ตำรวจภูธรภาค 5 ขอแนะนำและประชาสัมพันธ์ประชาชนที่ถูกแก๊งโรแมนซ์สแกมเงินดำหลอกลวง ดังนี้

ขอประชาสัมพันธ์ประชาชนที่ถูกแก๊งโรแมนสแกมเงินดำหลอกลวงให้โอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้ เดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี

  • บัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี น.ส.ญาดา ปันอินแปง เลขที่บัญชี 061-2-75684-8
  • บัญชีธนาคารกสิกรไทย ชื่อบัญชี ภัคจิรา ติ๊บมา เลขที่บัญชี 088-3-19138-2
  • บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี นายวสุพล ลิ้มรังษี เลขที่บัญชี 426-0-79692-4
  • บัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี นายกฤษฎา แสงสว่าง เลขที่บัญชี 030-7-29934-7
  • บัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี เพ็ญนภา ทองเอี่ยม เลขที่บัญชี 629-0-53475-6
  1. สังเกตโปรไฟล์เฟซบุ๊กชาวต่างชาติที่มีการใช้ชีวิตติดหรู ตรวจสอบจำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊ก เพื่อ
    ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
  2. ตรวจสอบข้อมูลหรือรูปภาพของบุคคลที่คุยด้วยทุกครั้ง ว่านำภาพบุคคลใดมาแอบอ้างหรือไม่
    มีตัวตนจริงหรือไม่
  3. ตรวจสอบเฟซบุ๊ก โดยการ VDO Chat
  4. หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับบุคคลแปลกหน้าบนโลกออนไลน์
  5. ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจบุคคลอื่นง่ายๆ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งรู้จักกันทางสื่อสังคมออนไลน์ หากพบ
    พฤติกรรมในลักษณะ เช่น เมื่อพูดคุยกันไปสักพักจะมีการใช้คำหวาน พูดให้ความหวัง และอยากจะ
    ส่งของมาให้ โดยจะอ้างว่าเป็นเงินสด หรือสิ่งของมีค่าต่างๆ แต่คุณต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษี
    ให้สันนิษฐานได้ว่าอาจถูกหลอก ควรตรวจสอบข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็น
    เหยื่อ

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *