สถาบันอาหาร จัดใหญ่ “Sharing Together ก้าวสู่ปีที่ 25” เดินหน้าหนุนอุตฯแปรรูปอาหาร สู่เป้าฮับฟิวเจอร์ฟู้ดแห่งอาเซียนภายในปี 2570

สถาบันอาหาร อรุณอมรินทร์ 36///สถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดบ้านจัดกิจกรรมใหญ่ “Sharing Together” ฉลองการดำเนินงานก้าวสู่ปีที่ 25 มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคต แห่งอาเซียนควบคู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” เดินหน้า 3 เป้าใหญ่ ปั้นไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออก อาหารโลก ผลักดัน GDP อุตสาหกรรมอาหารให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี และเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน ตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2570)

ชูความพร้อมทั้งงานบริการและให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรมอาหารครบวงจรตลอดสายโซ่การผลิต หนุนการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมสู่ผู้ประกอบการในวงกว้าง ผนึกภาครัฐและเอกชน เสริมทัพผู้ประกอบการด้วย 4 มาตรการเด่น สร้างนักรบอุตสาหกรรม อาหารพันธุ์ใหม่ สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต สร้างช่องทางตลาด สมัยใหม่ และสร้างปัจจัยเอื้อให้ง่ายในการดำเนินธุรกิจ หวังรับมือ ทิศทางอุตสาหกรรมอาหารโลกที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในทศวรรษหน้า เผยภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 มีมูลค่ารวม 753,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คาดไตรมาสสุดท้าย ตลาดโลกจะมีความต้องการสินค้าอาหารสูงขึ้น แนวโน้มการส่งออก อาหารของไทยตลอดปี 2563 จะมีมูลค่าราว 1,025,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8

นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการสถาบันอาหาร กล่าวในพิธีเปิดงาน “Sharing Together ก้าวสู่ปีที่ 25 สถาบันอาหาร” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 ณ ที่ทำการ สถาบันอาหาร ว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมสำคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี 2562 ไทยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,016,932 ล้านบาท เป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 11 ของโลก และอันดับที่ 2 ในเอเชียรองจากจีน ทั้งนี้สินค้าที่ไทยส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก มีหลายรายการ เช่น ติดอันดับ 1 ได้แก่ ทูน่า มันสำปะหลัง อันดับที่ 2 ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย เป็นต้น โดยไทยมีส่วนแบ่ง ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ล่าสุดในปี 2562 มีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.51 และมีการส่งออกมากกว่านำเข้าถึง 631,415 ล้านบาท โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน CLMV ญี่ปุ่น และอาเซียน-5 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 54 ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความมั่นคงทางอาหารที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพด้านการผลิต ดังจะเห็นได้จากในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ประเทศไทยแทบไม่มีปัญหาการขาดแคลน สินค้าอาหารเลย ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ตลอดทั้งสายโซ่การผลิต ซึ่งสถาบันอาหารได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองได้อย่างดี และกลายเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของไทย

“ผมเชื่อว่าปีที่ 25 และปีต่อๆ ไปของสถาบันอาหาร ก็จะคอยสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอาหารไทยให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง ด้วยทรัพยากรที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย หน่วยงานเครือข่าย และที่สำคัญบุคลากรที่พร้อมจะตอบสนอง ความต้องการของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ที่มีอยู่อย่าง หลากหลาย และสถาบันอาหารก็มีความมุ่งมั่นในการปรับตัว ให้เข้ากับบริบทของการทำธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี”

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถาบันอาหาร ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรูปแบบองค์กรเครือข่าย ภายใต้อุตสาหกรรม พัฒนามูลนิธิ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2563 นี้ เนื่องในโอกาสที่สถาบันอาหารดำเนินงานมาครบรอบ 24 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 ด้วยความมุ่งมั่นเดินตามพันธกิจเดิม ในการสร้างคุณค่าด้านวิชาการ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ล้ำสมัย ทันสถานการณ์ ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร จึงได้จัดงาน “Sharing Together ก้าวสู่ปีที่ 25 สถาบันอาหาร” เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นักศึกษา และผู้สนใจ ทั่วไปเข้าเยี่ยมชมงานภายในบริเวณที่ทำการสถาบันอาหาร สร้างบรรยากาศแห่งการแบ่งปันระหว่างสถาบันอาหารกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ด้วยแนวคิด Sharing Together ประกอบด้วยกิจกรร มต่างๆ ได้แก่ Share the Knowledge กิจกรรมสัมมนาและเสวนา Share Culinary Expertise การสาธิตการทำอาหารรสไทยแท้ Share Food Journey ท่องดินแดนแห่งอาหาร ชมพิพิธภัณฑ์ แสดงความเป็นมาและวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์อาหาร ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย ชั้น 2 Share the Joy การออกบูธ แสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 42 บูธ และ Share the Taste การออกร้านของคาราวาน Food Truck จำนวน 11 คัน บริเวณลานอเนกประสงค์ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกระดับ มาตรฐานการผลิตด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ จากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ กับสถาบันอาหาร คาดว่ามีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 300 คน

“ตลอดระยะเวลา 24 ปีที่ผ่านมา สถาบันอาหารได้เป็นส่วน สำคัญในการช่วยยกระดับผู้ประกอบการในด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การยกระดับการผลิตสู่สากล ด้วยมาตรฐาน ต่างๆ จำนวนกว่า 16,200 ราย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ จำนวนกว่า 4,700 ราย การสร้างความเชื่อมั่นอาหารปลอดภัย ด้วยการวิเคราะห์ผ่านห้องปฏิบัติการและการสอบเทียบจำนวนกว่า 1,176,600 รายการ การพัฒนาทักษะและถ่ายทอดความรู้บุคลากร จำนวนมากกว่า 224,000 คน การประเมินความเสี่ยงกว่า 20,000 รายการ และการวิจัยเชิงลึก มากกว่า 46 เรื่อง”

นางอนงค์ กล่าวเพิ่มเติมถึงบทบาทและความสำคัญ ของอุตสาหกรรมอาหารต่อเศรษฐกิจไทย ในการบรรยาย พิเศษหัวข้อ “NFI Next Milestone: Leading for the Future of the Food Industry” ว่า ในปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศเบื้องต้นของอุตสาหกรรมอาหาร(GDP) เท่ากับ 922,835 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.5 ของ GDP ประเทศ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.6 เป็นอันดับ 1 ของ GDP ภาคอุตสาหกรรม รองลงมาคือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ สัดส่วนร้อยละ 13.6 อุตสาหกรรมยานยนต์ สัดส่วนร้อยละ 11.2 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ สัดส่วนร้อยละ 9.0 และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สัดส่วนร้อยละ 4.7 เป็นต้น ปัจจุบันมีจำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหารรวมทุกขนาด 128,137 กิจการ แบ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กร้อยละ 98.5 ขนาดกลางร้อยละ 0.9 และขนาดใหญ่เพียงร้อยละ 0.6 มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมดราว 1 ล้านคน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 57.19 เฉพาะจำนวนโรงงานที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานมีเพียง 8,282 โรงงาน ที่มีจำนวนมากสุด 4 ลำดับแรกคือ แปรรูปเนื้อสัตว์(18.4%) ผลิตภัณฑ์จากแป้ง(17.2%) แปรรูปผักผลไม้(12.4%) และแปรรูปสัตว์น้ำ(11.8%)

“สำหรับภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 มีมูลค่ารวม 753,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามคาดว่า ไตรมาสสุดท้ายตลาดโลกจะมีความต้องการสินค้าอาหารสูงขึ้น การส่งออกอาหารของไทยตลอดปี 2563 จึงมีแนวโน้ม ขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยมีมูลค่าราว 1,025,000 ล้านบาท”

นางอนงค์ กล่าวต่อว่า สถาบันอาหารยังคงมุ่งเสริมศักยภาพ การแข่งขันแก่ธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าตลอดสายโซ่การผลิต โดยการให้บริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร อุตสาหกรรมอาหาร ร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการอาหาร ไปจนถึงผู้บริโภค ภายใต้แนวคิด 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ Trust(Food Safety & Quality) ผ่านการบริการด้านห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ และบริการวิศวกรรมอาหาร Value(Innovation & Technology) ผ่านบริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี Power(Human Resource Development & Training) ผ่านบริการด้านพัฒนา ทักษะแรงงานและเสริมสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากร และ Speed Solutions(Business & Marketing) ผ่านบริการด้านสนับสนุน ธุรกิจและการตลาด ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ อาหารของไทยทุกระดับเข้มแข็ง ตามแผนปฏิบัติการด้าน การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2570) เพื่อให้สอดรับกับทิศทางอุตสาหกรรมอาหารโลกในทศวรรษหน้า ภายใต้วิสัยทัศน์ผลักดันให้ “ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต อาหารอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ด้วย 3 เป้าหมายใหญ่ คือไทยต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก เป็นประเทศที่มี GDP อุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี และเป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน โดยสถาบันอาหารพร้อมผลักดันด้วยมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่ 1)สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ โดยการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในสภาพธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระบบ Food Safety เพิ่มผลิตภาพด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี รวมถึงกลุ่ม OEM สำหรับ Start Up 2)สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต ถ่ายทอดเทคโนโลยี แปรรูปสมัยใหม่ 3)สร้างช่องทางตลาดสมัยใหม่ ร่วมมือ กับภาครัฐและเอกชนพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดแก่ธุรกิจอาหาร ผลักดันผู้ประกอบการเข้าสู่ช่องทางตลาดออนไลน์ เชื่อมโยงคู่ค้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจ และ 4)สร้างปัจจัย เอื้อให้ง่ายในการดำเนินธุรกิจ ปรับปรุงกระบวนการสู่ดิจิทัล แพลตฟอร์ม พัฒนาระบบ Big Data ปัญญาประดิษฐ์ ผลักดันการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อธุรกิจ เผยแพร่ความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ เป็นต้น

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *