โรงแรมในภูเก็ตฮึดสู้ เรียกร้องรัฐบาลฉุดการท่องเที่ยวจังหวัด

ภูเก็ต ประเทศไทย วันที่ 9 กันยายน 2563 – สมาคมโรงแรมภูเก็ต (Phuket Hotels Association – PHA) ร่วมกับ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส (C9 Hotelworks) เปิดผลสำรวจหลังโควิด-19 ป่วน และ “ภูเก็ตโมเดล” ชะงัก โชว์ตัวเลขผู้โดยสารขาเข้าลดดิ่ง คนตกงาน 50,000 ตำแหน่ง ชี้อุตสาหกรรมโรงแรมในภูเก็ตกำลังถึงจุดแตกหัก และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางเศรษฐกิจอย่างมากจากรัฐบาล เพื่อให้สามารถอยู่รอดในช่วงไฮซีซั่น (High Season)

สมาคมโรงแรมภูเก็ต และ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการบริการระดับเอเชีย เปิดเผยว่า ขณะนี้ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวภูเก็ตกำลังเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจของภูเก็ต โดยได้เผยแพร่รายงานผลกระทบของโควิด-19 ต่อการพัฒนาโรงแรม โดย 69% ของโรงแรมในขณะนี้ถูกชะลอหรือถูกระงับ เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ ณ สิ้นปี 2562 มีสถานประกอบการที่พักที่ได้รับใบอนุญาต 1,758 แห่งบนเกาะ และโครงการที่เข้ามาในปัจจุบันอยู่ที่โรงแรม 58 แห่ง คิดเป็นอุปทานที่เพิ่มขึ้น 19% โดยมีการวางแผนห้องพักเพิ่มเติม 16,476 ห้อง

กรอปกับข้อมูลจากท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ก็แสดงให้เห็นว่า ผู้โดยสารขาเข้ามีจำนวนลดลงถึง 65% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมของปีนี้ นอกจากนั้น สิ่งที่ชัดเจนคือห้องพัก 86,000 ห้องในสถานประกอบการที่พักที่จดทะเบียนในภูเก็ตไม่สามารถคุ้มทุนได้จริง หรือแม้กระทั่งรักษากระแสเงินสดให้เป็นบวกต่อนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศเท่านั้น (Domestic Tourism)ดังนั้น หากไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา จะสร้างความสูญเสียอย่างมาก รวมถึงจะมีการว่างงานถึง 50,000 ตำแหน่งในภาคโรงแรมในปีนี้

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีเปิดตัวโครงการการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ “ภูเก็ตโมเดล” (Phuket Model) แต่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ รวมถึงโปรแกรม Alternative Local State Quarantine (ALSQ) ซึ่งมีโรงแรมมากกว่า 60 ในภูเก็ตที่ผ่านเกณฑ์ แต่เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินตรงไปยังภูเก็ต รัฐบาลจึงต้องการการสนับสนุนที่กว้างขึ้นในการเดินทางของนักเดินทางระหว่างประเทศ และต้องใช้เวลายื่นเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงอาจนานหลายเดือน

แอนโทนี ลาร์ค ประธานสมาคมโรงแรมภูเก็ตกล่าวว่า “ตัวเลขการเข้าพัก (Occupancy) โรงแรมในภูเก็ตตอนนี้เป็นเลขหลักเดียว อุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศไม่มากพอที่จะสามารถป้องกันการสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้วิกฤตการณ์ทางการเงินของเจ้าของและผู้ประกอบการลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงขอสนับสนุนการเปิดเมือง (Reopening) ที่ปลอดภัย ปฏิบัติได้จริง และมีกลยุทธ์สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ประการแรก ต้องมีการเจรจาเชิงรุกระหว่างภาครัฐและเอกชนมากขึ้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ประการที่สอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) ต้องพิจารณามาตรการเงินกู้ระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือโรงแรมในการดำเนินงานเพื่อรับมือกับพายุเศรษฐกิจและรักษาตำแหน่งงานในภาคธุรกิจ เพราะหากปราศจากการปกป้องและดูแลพนักงานก็จะไม่มีการฟื้นตัวเช่นกัน”

ด้าน บิล บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส กล่าวว่า “ความล้มเหลวของประเทศไทยในการเปิดตัว “ภูเก็ตโมเดล” ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่ออุตสาหกรรมการบริการของภูเก็ต ผลกระทบแบบโดมิโนไม่เพียงแต่กับโรงแรมและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อการพัฒนา สิ่งนี้จะก่อให้เกิดการพังทลายของงานในการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การค้าปลีก และในที่สุดก็จะปรากฏในลำดับชั้นของผู้บริโภค สถานการณ์มีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลงเนื่องจากโรงแรมที่ดำเนินกิจการยังคงต้องเผชิญกับความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แผนการเปิดเมือง(Reopening) ไม่เพียงแต่จะต้องมีการวางแผนอย่างดี แต่ต้องเอาชนะใจคนไทยให้ได้ว่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในขณะที่เกาะนี้อาจถือเป็นกุญแจสำคัญของไทยในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว แต่ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ การที่โรงแรมจะต่อสู้เพื่อชีวิตของพวกเขาในสภาพปัจจุบันจะทำได้อย่างไร”

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยวในภูเก็ตเห็นว่า สถานการณ์ของโรงแรมในภูเก็ตยังคงมีการโต้เถียงกันอย่างมาก และการขาดความเห็นพ้องต้องกันในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับโปรแกรม “Safe and Sealed” (การพักระยะยาวที่ปลอดภัย) ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) ออกคำเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างหนัก ส่งผลให้ช่วงไฮซีซั่นที่กำลังจะมาถึงของภูเก็ตยังคงมีความท้าทายอยู่มาก

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *