วช. จับมือ ม.ขอนแก่น ชู”บ้านแฮดโมเดล” รณรงค์ป้องกันกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ วช. จัดมหกรรมรณรงค์ป้องกันกําจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็ง ท่อน้ําดีพื้นที่ต้นแบบ “บ้านแฮดโมเดล”

โครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ Fluke Free Thailand โดย สถาบันวิจัย มะเร็งท่อน้ําดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดงาน “มหกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและกําจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดี อําเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น” ในวันที่ 7 มกราคม 2563 ณ ที่ว่าการอําเภอบ้านแฮดจังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนรวมถึงสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทั้งส่วนราชการและเอกชนในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดีอย่างบูรณาการและยั่งยืน กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับ เกียรติจาก นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธี เปิด โดยมี นายทวิช พิมพะ นายอําเภอบ้านแฮด กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน

นายแพทย์สมชายโชติปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “โรคมะเร็ง ท่อน้ําดีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีอุบัติการณ์การเสียชีวิตในประชากรวัย ทํางานจํานวนมาก ส่งผลให้เกิดการสูญเสียในทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะประชากรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็น การบูรณาการทุกมิติอย่างยั่งยืน เราทุกฝ่ายจึงต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้จากต้นน้ําไปจนสุดปลายน้ําอย่างบูรณาการ ซึ่งก็คือการกําจัดพยาธิใบไม้ตับลดการแพร่กระจายตามแหล่งน้ํา กําจัดพยาธิใบไม้ตับในสัตว์รัง โรค จัดการอาหารให้ปลอดภัย เพิ่มภูมิคุ้มกันทางปัญญาแก่เยาวชน จัดการข้อมูลสุขภาพอย่างเป็นระบบ สามารถติดตามได้การคัดกรองและรักษาตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วย ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน โดยอําเภอบ้านแฮด เป็นหนึ่งในพื้นที่นําร่องของจังหวัด ขอนแก่น ที่กําหนดให้มีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างบูรณาการผ่านกลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอําเภอ (พชอ.) ซึ่งเรียกรูปแบบการดําเนินการนี้ว่า “บ้านแฮดโมเดล”ซึ่งเรามุ่งหวังว่าจะเกิดการสร้าง เครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือทั้งส่วนราชการและเอกชนสร้างและกระตุ้นแรงขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหา โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดีอย่างบูรณาการและยั่งยืน”

รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว 
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี

ต่อมาประธานในพิธีพร้อมด้วยคณะผู้บริหารได้เข้าเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการให้ความรู้ในการรณรงค์ป้องกันกําจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดี ของโครงการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทย ไร้พยาธิใบไม้ตับ (Fluke Free Thailand) อาทิ การตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับด้วยแอนติเจนในปัสสาวะ, การจัดการระบบสุขาภิบาลและสิ่งปฏิกูล, การใช้หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนเพื่อพัฒนาภูมิคุ้มกันใน เยาวชน, อาหารปลอดภัย ปลาปลอดพยาธิ, ระบบ Isan cohort และการจัดแสดงผลการดําเนินงานรณรงค์ สร้างความตระหนักถึงภัยของพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดีจากหน่วยงานในพื้นที่อําเภอบ้านแฮด จากนั้น คณะผู้บริหารได้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการบริการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับจากแอนติเจนในปัสสาวะ ซึ่งเป็น 1 ผลงานนวัตกรรมวิจัยที่ได้จากโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ และเยี่ยมชมการตรวจ คัดกรองมะเร็งท่อน้ําดีด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์ ที่ทางสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ําดี ได้จัดขึ้นเพื่อบริการ ประชาชนในพื้นที่ โดยกิจกรรมการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยว่าเป็นพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดี นั้น จะทําการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลระบบ Isan Cohort ซึ่งเป็นระบบ Big Data ที่ทําหน้าที่ติดตาม ผลการรักษาของผู้ป่วยจากต้นไปจนจบ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบกว่าสองล้านคนและสามารถติดตาม ผลข้อมูลได้แบบ Realtime

น.ส.ธรรมภรณ์ ประภาสะวัต หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณผู้แทน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 

จากการดําเนินงานร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ําดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสํานักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Fluke Free Thailand) เกิดผลสําเร็จเป็นอย่างมากในการทําวิจัยและการนําผลไปใช้ในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่สําคัญต่อประเทศ ได้แก่ 1) ลดอัตราผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มเสี่ยงจากร้อยละ 42.8 เป็นร้อยละ13.4 และขณะนี้ลดลงเหลือร้อยละ 7.7 เท่ากับลดลง 6 เท่า 2) เพิ่มการเข้าถึงการรักษา โดยจํานวนผู้ป่วยมะเร็งท่อ น้ําดีระยะเริ่มต้นสามารถเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มจากร้อยละ 21.8 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.5 เท่ากับเพิ่มขึ้น 4 เท่า และ3) ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ําดี โดยอัตราการรอดชีพใน 5 ปีของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเพิ่ม จากร้อยละ 17.3 เพิ่มเป็นร้อยละ 48.3

น.ส.ธรรมภรณ์ ประภาสะวัต หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณผู้แทน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  และคณะทีมงาน วช. 

โครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ ทําให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยและ นวัตกรรมเพื่อนําไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสําคัญให้กับประเทศอย่างแท้จริง และทําให้ประชาชนเข้าถึงการ บริการที่เกี่ยวข้องกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดี ทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ อย่าง ทันเวลา เท่าเทียม มีคุณภาพ และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยการขจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็ง ท่อน้ําดีนั้น จะกระทําให้สําเร็จโดยภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อบูรณา การการแก้ไขปัญหาให้สัมฤทธิ์ผลและต่อเนื่อง การจะดําเนินการแต่เพียงในโรงพยาบาลหรือบุคลากรทาง สุขภาพด้วยการตั้งรับเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาให้หมดไปได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา สุขภาพนี้ร่วมกัน สอดรับกับอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ยึดถือการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการอุทิศ เพื่อสังคม สร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมโดยเฉพาะภาคอีสาน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ําดีลงให้เหลือน้อยที่สุด

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *