จากสถานการณ์มลพิษ PM 2.5 ในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ทวีความรุนแรงขึ้น ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาการออกแบบเมืองมักมุ่งเน้นการรองรับการใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมถึงการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ในเมืองเพื่อสร้างที่จอดรถแทนที่จะเป็นสวนสาธารณะสำหรับคนในชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาความแออัดด้านการจราจรและปัญหามลพิษทางอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น
การเดินทางร่วมกัน (shared mobility) เช่น บริการเรียกรถ (ride hailing) การเดินทางร่วมกันโดยใช้รถคันเดียว (carpooling) จักรยานสาธารณะให้เช่า (bike-sharing) ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับความท้าทายด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจราจร งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าการเดินทางร่วมกันช่วยลดความจำเป็นในการครอบครองรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนและการปล่อยมลพิษได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยในปี 2018 โดย UC Davis Institute of Transportation Studies พบว่าการเดินทางร่วมกันโดยใช้รถคันเดียว (carpooling) และการเดินทางร่วมกัน (shared mobility) สามารถลดระยะทางการเดินทางด้วยรถยนต์ (VMT) ในเขตเมืองได้มากถึง 13% ซึ่งไม่เพียงช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่แออัด แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้อากาศสะอาดขึ้นด้วยการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การเดินทางร่วมกัน (shared mobility) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานพาหนะ ลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนตัว ส่งผลให้การผลิตและการกำจัดรถยนต์ลดลง ซึ่งช่วยลดการปล่อยมลพิษตั้งแต่การผลิตจนถึงการใช้งานของยานพาหนะ
ที่โบลท์ (Bolt) เรามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษต่ำโดยการนำตัวเลือกยานยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดมาเพิ่มในแพลตฟอร์มของเรา ยานพาหนะเหล่านี้ปล่อยมลพิษน้อยกว่าเครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมอย่างมาก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตมลพิษ PM 2.5 การปรับโฉมการเดินทางในเมืองและการลงทุนในทางเลือกที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญ การเดินทางร่วมกันไม่เพียงแค่ความสะดวก แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้เพื่ออากาศที่สะอาดไร้มลพิษและเมืองที่มีสุขภาพดีขึ้น