สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) จับมือ HUAWEI Thailand มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลที่เป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (DigitalTransformation) และยกระดับให้ประเทศไทยขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลในอาเซียนร่วมจัดอบรมผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ภายใต้โครงการศึกษาดูงานและการประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที (ARI TECH CAPABILITY2023) สานต่อโครงการเป็นปีที่ 5
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงกรอบความร่วมมือว่า “สืบเนื่องจาก NIA และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของกำลังคน เพื่อสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืนณ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562เพื่อร่วมมือพัฒนาระบบนิเวศทางด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาบุคลากรยกระดับขีดความสามารถ ทักษะดิจิทัล และนวัตกรรมได้มีการคาดการณ์ว่า ARI Tech ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศไทยสามารถนำ ARITech มาปรับใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นกัน ทั้งในภาคการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการต่างๆรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนในหลายมิติ การจับมือระหว่าง NIA กับ HUAWEI Thailandผู้จัดหาโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลก จึงได้มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องโดยได้ร่วมกันพัฒนาด้าน IoT Cloud และ 5G
“โครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที” หรือ “ARI Tech Capability”จึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและกำลังคนให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ตอบโจทย์การพัฒนาในภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรม และภายในองค์กร และสร้างขีดความสามารถของวิสาหกิจเริ่มต้นให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการ ที่สามารถแข่งขันในตลาด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้”
นายปริวรรต กล่าวต่อว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา NIA เห็นความสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพกลุ่ม ARI Techอย่างต่อเนื่อง ประจวบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุคหลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19ทำให้เกิดการสร้างงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลจึงมีความสำคัญมากในการรับมือกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ
อีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทยคือการขาดแคลนบุคลากรทางด้านดิจิทัลการเรียนในมหาวิทยาลัยอาจไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก การอบรมในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ธุรกิจหรือสินค้าต่อไปได้นอกจากนี้ ทุกคนที่เข้าร่วมจะสามารถต่อยอดกับโครงการต่างๆ ของ NIA อาทิการขอทุนในโครงการต่างๆ หรือโครงการบ่มเพาะสำหรับสตาร์ทอัพเช่นกัน”
นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า พันธกิจของ HUAWEI Thailand คือมุ่งสนับสนุนธุรกิจในประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงช่วยส่งเสริมอีโคซิสเต็มในประเทศผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ซึ่ง NIAก็เป็นส่วนหนึ่งของพาร์ทเนอร์คนสำคัญที่ได้มีส่วนในการร่วมกันพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep TechStartup) อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 5ปีที่ร่วมกันได้พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นด้าน Deep Tech ไปแล้ว 150 ราย
“การพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลถือว่าเป็นการวางรากฐานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศให้แข็งแกร่งอย่างแท้จริง การสร้างอีโคซิสเต็มในด้านบุคลากรดิจิทัลจำเป็นต้องใช้ความพยายามและความร่วมมือจากหลากหลายฝ่าย เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันระหว่างHUAWEI Thailand และ NIAในการอบรมทักษะด้านดิจิทัลนั้นจะเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานสำคัญของแรงงานด้านดิจิทัลในประเทศและยกระดับให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางดิจิทัลของอาเซียนในอนาคต”
การอบรม ARI TECH CAPABILITY 2023 โดย HUAWEI Academy เป็นการเปิดการเรียนรู้ด้าน ICTCybersecurity, Cloud และ Artificial Intelligence (AI) ตลอดเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566เป็นการสานต่อโครงการเป็นปีที่ 5 ใน 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) Digital Transformation Trends and BusinessInnovation, 2) Cloud and Network Synergy, Enable Industry Digital Transformation, 3) ArtificialIntelligence Industry Practice Discussion and Sharing และ 4) Hand on Lab Workshop & CSICโดยมีสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และบุคลากรด้านดิจิทัลที่สนใจเข้าร่วมการอบรมรวม 35 คน