วช. สานต่อความร่วมมือระดับนานาชาติ มอบรางวัล IPITEx 2025 ชื่นชมความสำเร็จนักประดิษฐ์ไทย-นานาชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ 2568

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition 2025 (IPITEx 2025) ภายในงาน “วันนักประดิษฐ์” 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025)โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล พร้อมด้วย Mr.Alireza Rastegar, President of International Federation of Inventors’ Associations (IFIA) คณะผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานด้านการส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรม เข้าร่วมยินดี ณ เวทีกิจกรรมกลาง ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มุ่งมั่นในการนำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักประดิษฐ์นักวิจัยนานาชาติและไทย เข้าร่วมนำเสนอผลงานในมหกรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ Bangkok International Intellectual Property, Invention, Innovation and Technology Exposition (IPITEx) อย่างต่อเนื่องทุกปี ในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 นี้ มีจำนวนผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาร่วมจัดแสดงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนกว่า 1,000 ผลงาน สะท้อนให้เห็นการพัฒนาทางด้านผลงานประดิษฐ์ งานวิจัยนวัตกรรม ที่ได้เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักประดิษฐ์นานาชาติ โดยได้รับความร่วมมือจาก 28 องค์กรนานาชาติและ 32 องค์กรจากประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีประโยชน์และคุณภาพสูงต่อไป

Mr.Alireza Rastegar, President of International Federation of Inventors’ Associations (IFIA) กล่าวแสดงความขอบคุณและชื่นชมต่อ วช. ในการสนับสนุนนักประดิษฐ์และการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และจะสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไปในอนาคต เพื่อเปิดเวทีสำหรับการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

ในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 นี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุด Grand Prize จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่

1. ผลงานเรื่อง “NS-UR Flux-Cored Solder Wire: A High-Strength Solution for Reliable Interconnects in Advanced Electronic Applications” จาก Universiti Malaysia Perlis (UniMAP) ประเทศมาเลเซีย

2. ผลงานเรื่อง “Innovative composite bar mesh : GFRP wire mesh” จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัล International Young Inventor Award จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “Observation Plan for (101955) Bennu Using Astronomical Parameter Computations จาก Premier School Affiliated to Hou Kong Middle School มาเก๊า ประเทศจีน

รางวัล ASEAN Excellence Invention and Innovation Award จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง “‘TumblFlex’ An Innovative Solution for Real-Time Glucose and Temperature Monitoring in Beverages” จาก SMAN 5 Surabaya จาก ประเทศอินโดนีเซีย

รางวัล The Outstanding International Invention & Innovation Award จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

1. ผลงานเรื่อง “Zeree A: Synbiotic Gummy for Gut and Brain Balance (Nanozeree CO., LTD.)” จาก Nanozeree CO., LTD. ประเทศไทย

2. ผลงานเรื่อง “RP jelly drink less sweet and refreshing drink for better health” จาก Thailand Institute of Scientific and Technological Research ประเทศไทย,

3. ผลงานเรื่อง “Technical Gaps: A Descriptive Analysis of Non- Operational and Operational Electric Vehicle” จาก Universiti Tun Hussein Onn Malaysia ประเทศมาเลเซีย

4. ผลงานเรื่อง “3D-Printed Elastic Lattice Structures” จาก University of Zagreb Faculty of Graphic Arts ประเทศโครเอเชีย

5. ผลงานเรื่อง ”GOLDEN SEA CUCUMBER“ จาก Japan Intellectual Property Association ประเทศญี่ปุ่น6. ผลงานเรื่อง ”IOT GATEWAY-BASED SMART BUS SHELTER DEVICE“ จาก สาธารณรัฐเกาหลี

และรางวัล NRCT Special Award จำนวน 25 รางวัล และรางวัล Medal Prize ได้แก่ รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จำนวน 322 รางวัล, รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จำนวน 202 รางวัล และรางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) รางวัล 137 รางวัล

ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2568 ได้มีการจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ (IPITEx 2025) มีผู้เข้าร่วมจากนานาชาติกว่า 2,000 คน จาก 22 ประเทศ ทั้งนี้ วช. มุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือให้แข็งแกร่งและกว้างขวางยิ่งขึ้น และคาดหวังถึงการขยายขอบเขตการนำเสนอผลงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของผลงานที่ได้รับการพัฒนาในหลายมิติในอนาคต

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *