“TIPMSE” เปิดเวทีหนุนผู้ประกอบการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนใช้ใหม่ตามหลักการ EPRเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

“TIPMSE” เปิดเวทีใหญ่ “PROVE: The Journey to EPR Thailand” ระดมข้อเสนอ ดึงสมาชิกเครือข่าย รัฐ และเอกชน กว่า 100 องค์กร สร้างระบบนำบรรจุภัณฑ์หลังบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ภาคสมัครใจ เปิดทางผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ขนาดใหญ่ กลาง SMEs เตรียมพร้อมเข้าร่วม เร่งขยายเครือข่าย EPR (Extended Producer Responsibility) (พ.ร.บ.การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน) ก่อนมีกฎหมายบังคับใช้ ในปี 2570 มุ่งเพิ่มขีดแข่งขันผู้ผลิตไทย รับกติกาโลก

นายธงชัย ศิริธร รองประธานสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมงาน (TIPMSE ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “PROVE: The Journey to EPR Thailand” เพื่อสื่อสารและสร้างโอกาสในการเข้าร่วมขับเคลื่อน EPR โดยมีช่องทางและวิธีการเข้าร่วมได้หลายรูปแบบตามสนใจ ปัจจุบัน ภาครัฐอยู่ระหว่างการพัฒนากฎหมาย EPR จึงเป็นเวทีที่สำคัญที่เปิดให้สมาชิกและเครือข่าย ทดลองดำเนินการตามหลัก EPR แบบภาคสมัครใจ ก่อนเข้าสู่ภาคบังคับ คาดว่าจะมีผลในปี 2570

การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ได้มีความร่วมมือขององค์กรหลายภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาโมเดล โดย TIPMSE ร่วมกับภาคเอกชนได้ทำโครงการนำร่องที่นำหลัก EPR ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืนขึ้นในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มจาก 3 เทศบาลและขยายผลอีก 11 เทศบาลในปี 2567 เพื่อพัฒนาโมเดลที่สอดรับกับบริบทและกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ นับเป็นความก้าวหน้าการพัฒนารูปแบบจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดเป็นแนวทางและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ไปพัฒนารูปแบบของพื้นที่ตนเอง

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการนำหลัก EPR ไปพัฒนาธุรกิจ ได้เปิดให้ผู้ประกอบการมาร่วมเรียนรู้กระบวนการทำงานตามหลัก EPR เพื่อเตรียมความพร้อม ในการพัฒนาองค์กร เข้าสู่หลัก EPR ผ่านเวทีสัมมนากลุ่มย่อย 4 สถานีเรียนรู้เส้นทางการเข้าร่วม EPR ประกอบด้วย 1.สถานี Recap EPR Policy : จับประเด็นกฎหมาย EPR 2.สถานี Reset Infrastructure: ปรับโครงสร้างขับเคลื่อน EPR 3. Reinvent with Recycle: เปลี่ยนดีไซน์สู่ความยั่งยืน และ 4. Reignite EPR Voluntary Action : จับมือรวมพลังผลักดัน EPR ภาคสมัครใจ

สาระสำคัญ ของห้องสัมมนาในสถานี Recap EPR Policy: จับประเด็นกฎหมาย EPR ผู้ร่วมสัมมนา จะได้รับทราบความก้าวหน้าร่างกฎหมาย ที่จะประกาศเป็น พ.ร.บ. การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน พ.ศ… ที่กำหนดให้นำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต เข้ามาร่วมรับผิดชอบบรรจุภัณฑ์ ภายหลังจากการอุปโภคบริโภคของประชาชน

สถานี Reset Infrastructure: ปรับโครงสร้างขับเคลื่อน EPR อัพเดทการปรับและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มจาก จุดรับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว(drop off point) , ระบบขนส่งและจัดเก็บ, ระบบคัดแยกปลายทาง (MRF : Material RecoveryFacility ที่อาจต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ดำเนินโครงการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น โครงการ Smart Recycling Hub, โครงการมือวิเศษคุณวน, โครงการreBOX, โครงการ ข.ขวดหมุนวียนเป็นขวดใหม่, โครงการBecare เก็บกล่องสร้างบ้าน เป็นต้น

สถานี Reinvent with Recycle: เปลี่ยนดีไซน์สู่ความยั่งยืน เน้นการนำเสนอการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิลได้ง่าย D4R หรือ Design for Recycle เพื่อเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากที่สุด ซึ่งมีนักวิชาการ ภาครัฐ รวมถึงต่างประเทศได้จัดทำแนวทาง D4R ไว้หลากหลายรูปแบบ ทั้งคู่มือของ WPO (World Packaging Organization) หรือข้อตกลงร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ THAI RKSHOP AGREEMENTข้อตกลงร่วม 4004-2566 ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์เรื่อง EPR ยังส่งเสริมให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทยอีกด้วย

สถานี Reignite EPR Voluntary Action : จับมือรวมพลังผลักดัน EPR ภาคสมัครใจ โดยสถานีนี้ จะมีโอกาสในการร่วมทดลองเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วตามแนวทาง EPR ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของ PROVE และเตรียมความพร้อมสู่ภาคบังคับ เพราะท้ายที่สุดแล้ว การเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ต้องเป็นความรับผิดชอบทุกภาคส่วนตามแนวทาง EPR ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งโรงงานรีไซเคิลเพื่อให้เกิดการเก็บกลับครบวงจร (Closed Loop packaging) โดยจะดำเนินงานในช่วงเตรียมความพร้อมสู่ การดำเนินงานภาคบังคับต่อไป

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนมีความตื่นตัวที่ร่วมกัน ในการขับเคลื่อน Voluntary EPR โดยมีองค์กรเข้าร่วมแสดงเจตจำนงเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 100 องค์กร และยังมีการประกาศความร่วมมือของ 4 องค์กรภาคีได้แก่ PPP Plastics, PRO Thailand Network ,Aluminium Closed Loop Packaging System (Al Loop) และ TIPMSE PackBack และรวมถึง Collector รายใหญ่ที่พร้อมสนับสนุนอย่าง TBR หรือ SCGP ซึ่งต่างมีโครงการที่จะช่วยผลักดัน สนับสนุน กลไก EPR ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *