ชุมชนเยาวราชจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์ในย่านเกิดและรื้อฟื้นเทศกาลโคมไฟพร้อมส่งต่อความหมายให้คนรุ่นใหม่ ภาคีวัฒนธรรมย่านเยาวราชชี้อัตลักษณ์ย่านเยาวราชสูงค่า เพียงถ่ายทอดแก่นแท้ของเทศกาลไหว้พระจันทร์และองค์ความรู้ในพื้นที่อย่างเหมาสะสม รวมทั้งหากลวิธีส่งต่อให้คนรุ่นใหม่สืบสานพื้นที่วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า
ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ชุมชนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งย่านเยาวราชร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรม “Moon Festival” ไหว้พระจันทร์ วันดูโคม ชมศิลปะ ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช พร้อมจัดเสวนา “คุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด, ประเพณีจีนในสังคมไทย” “คุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด ประเพณีจีนในสังคมไทย
ศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ ผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่าเทศกาลไหว้พระจันทร์สำคัญรองมาจากเทศกาลตรุษจีน นักวิจัยใช้พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์และเทศกาลเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนภายในกับคนภายนอกชุมชนให้มองเข้ามาในพื้นที่เยาวราชที่ยังคงมีการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์อยู่ โดยที่มีอีกตัวเชื่อมหนึ่งคือ “โคมไฟ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การไหว้พระจันทร์ในอดีตนำกลับมาเป็นตัวเชื่อมผู้คนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ แนวคิดเรื่องคุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด โดยมองว่าวัฒนธรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราจะปรับเปลี่ยนและอยู่กับวัฒนธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร การถ่ายทอดประเพณีหลายๆ อย่างไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ค้นหนกลไกแนวทางจัดการศิลปะของชุมชน สร้างเวทีปะทะสังสรรค์ทางความคิด และได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชนเป็นภาคีสำคัญ
นายไพศาล หทัยบวรพงษ์ ผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมจีนกล่าวว่าในฐานะลูกหลานจีนรุ่นที่ 3 กล่าวว่าได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเทศกาลไหว้พระจันทร์ในประเทศไทยที่นับวันเลือนหายไป ในขณะที่ช่วงเดินทางไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่เมืองซัวเถา 3-4 ครั้ง พบว่าที่ประเทศจีนการไหว้พระจันทร์กลับมาคึกคัก ไหว้กันแทบทุกบ้าน ซึ่งหากชุมชนเลื่อนฤทธิ์จะรักษาประเพณีนี้ไว้ให้รุ่งเรืองต้องตอบโจทย์คนรุ่นใหม่เข้าใจถึงแก่นแท้ แม้บางอย่างเปลี่ยนไปก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อความเหมาะสม และไม่ตกเป็นเหยื่อของซินแสในโซเชียลมีเดียที่ทำให้แก่นแท้ของเทศกาลกลายเป็นเรื่องการค้าจนเกินไป
“เช่นศาลเจ้าแม่ทับทิมทำไมมีทั่วประเทศไทยเพราะเป็นศาลเจ้าที่ท่าน้ำเมืองซัวเถาในประเทศจีนที่คนจีนเห็นก่อนขึ้นเรือมาแผ่นดินไทย การมีศาลเจ้าเพื่อให้คุ้มครองยามเมื่อมาอยู่เมืองไกลเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่คอย ปกป้องคุ้มครองทางจิตใจให้ชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย ก่อนที่จะมาต่อสู้ชีวิตที่นี่ คนจีนมีคำสอนว่า เมื่อกินน้ำต้องรู้พิกัดต้นนำของเรา ว่าเราเป็นใครมากจากไหน จะได้เข้าใจถึงคุณค่ามันอย่างแท้จริงว่าไหว้อากง อาม่าไปทำไม ให้กลับมาเห็นคุณค่า”
ดร.ปวีณา กลกิจชัยวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรม และเกิดในย่านเยาวราช เสนอว่าชุมชนเยาวราชไม่ควรเปลี่ยนแปลงตัวเองจนสูญเสียอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์ เยาวราชคือความไม่สมบูรณ์แบบ เป็นย่านที่เต็มไปด้วยความจอแจ ผู้คนที่ร้องตะโกนโหวกเหวกในชุมชน และเชื่อมโยงรู้จักกันเกือบหมด ศาลเจ้าที่มีกลิ่นธูปตลบแต่เต็มไปด้วยความหวังยามต้องการกำลังใจ คนเยาวราชแม้แต่งกายมอซอแต่เป็นเจ้าสัวผู้ถ่อมตนสิ่งเหล่านี้เป็นสีสันเสน่ห์เฉพาะตัวที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศต่างถวิลหา คนสิงคโปร์แม้ประเทศเจริญร่ำรวยแต่ทุกคนต้องมาเที่ยวเยาวราชเพราะเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เสน่ห์เหล่านี้อย่าให้สูญเสียอัตลักษณ์เหมือนตรอกข้าวสารที่เต็มไปด้วยคนขายของชาวพม่า ร้านกาแฟยี่ห้อระดับโลก หรือวัดหลายแห่งในฮ่องกงที่ขาดสีสันเพราะมีแต่กล่องบริจาคเรียงราย แก่นแท้การไปศาลเจ้าคือสัมผัสประสาทรับรู้ทั้ง 5 ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมโยงแบบมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ทั้งนี้ขอชื่นชมชุมชนเลื่อนฤทธิ์ที่จัดงานนี้สะท้อนให้เห็นความเป็นเยาวราชที่เราต้องช่วยกันปกป้อง สะท้อนคุณค่าของความเป็นตัวเราที่รุ่นอากงอาม่าต่อสู้สร้างเนื้อสร้างตัวมุมานะ เช่น บิดาของตัวเองอายุ 84 ปี จะมาเยาวราชทุกวันจันทร์เพื่อพบปะเพื่อนฝูง เดินไปตามย่านเก่าแก่ที่เคยเติบโตมา ซึ่งหาจากย่านร่ำรวยแบบสุขุมวิท หรือห้างหรูหรากลางเมืองไม่ได้ ที่สำคัญการรักษาประเพณีจีนต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อส่งทอดต่อคนรุ่นใหม่ สามารถเชื่อมโยงส่งต่อพวกเขาได้ โดยคงเรื่องราววัฒนธรรมไว้เช่นเดิมเพียงแต่เปลี่ยนภาษาในการสื่อสารใหม่ เช่น เชื่อมเทศกาลไหว้พระจันทร์เข้ากับความรักเพื่อเป็นตัวดึงให้คนรุ่นใหม่สนใจว่าทำไมคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ยังต้องไหว้เจ้า ไหว้พระจันทร์
พระอาจารย์ ดร.ธวัชชัย แก้วสิงห์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดมังกรกมลาวาส ชี้ให้เห็นบทบาทของวัดในชุมชนในฐานะแหล่งเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ของชุมชนและแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คน โดยตลอดระยะเวลาที่บวชมากว่า 23 ปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายแต่สิ่งสำคัญวัดต้องร่วมมือกับชุมชนในการรักษาศิลปะวัฒนธรรม ทั้งการบูรณะวัดที่ไม่ให้กระทบรูปแบบเก่าแก่ดั้งเดิม การเก็บข้อมูลวัฒนธรรมประเพณี เช่น ประเพณีชุกฮวยฮึ๊ง (พิธีการพ้นจากความเป็นเด็ก สู่ความเป็นผู้ใหญ่)ซึ่งคนเก่าแก่ในชุมชนมาบอกกล่าวข้อมูลชุดนี้ รวมทั้งเทศกาลไหว้พระจันทร์ นอกจากนี้ต้องหาทางสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้ ผ่านวัดหรือพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องร่วมกันดูแลเพราะตัวเองเป็นพระชุดสุดท้ายที่เคยเข้าไปทำพิธีในเวิ้งนครเกษมที่ปัจจุบันได้หายไปอย่างน่าเสียดาย
พระอาจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ เลิศประเสริฐพันธ์ วัดมังกรกมลาวาส ได้เสนอมุมมองว่าคนรุ่นเก่าต้องเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเพณีคงอยู่ได้เหมาะสมกาลเวลา เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่คิดริเริ่มเพื่อหาจุดลงตัว เทศกาลอาจต้องปรับให้ประหยัด สะดวก แต่คงคุณค่าแก่นแท้ประเพณีไว้
สำหรับงานนิทรรศการจะมีถึงวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ในวันอังคาร-วันอาทิตย์ ในเวลา 09:30- 16:00 น. เป็นผลงานที่ได้แรงบันดาลใจจากการใช้ชีวิตของผู้คน เช่นเทคนิคภาพเล่าเรื่อง ประตูลูกกรงเหล็ก ป้ายไฟการค้า แสดงให้เห็นรูปแบบการค้าหรือ วิถีเยาวราช Way of life in Yaowarat แสงจากชีวิตในเยาวราช Light of Yaowarat เ มื้ออาหารของชาวฮากกา เรื่องเหล้า 14 วัน 14 Days of Spirits และการจัดวาง (installation) เสียงแตรรถ เสียงบทสนทนาระหว่างแม่ค้าเพื่อให้เกิดเรื่องเล่าสะท้อนชีวิตของผู้คนในหนึ่งวันในเยาวราช เป็นต้น