ฮิตาชิ-ไมโครซอฟท์ ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโซลูชันดิจิทัลเพื่ออนาคต สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น
กรุงโตเกียว วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2563 – บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือทาง กลยุทธ์ระยะยาว เพื่อเร่งพัฒนาการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาเหนือ และในญี่ปุ่น โดยโซลูชันนี้จะสามารถให้บริการได้ในประเทศไทยภายในเดือนกรกฎาคม ปีนี้
จากความร่วมมือกันนี้ ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรและกระบวนการทำงานอัตโนมัติในพื้นที่ห่างไกล และเพื่อสนับสนุนธุรกิจในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการระบาดของเชื้อ COVID-19 ฮิตาชิจะใช้โซลูชันชั้นนำในภาคอุตสาหกรรม เช่น แพลตฟอร์ม Lumada(1) และตัวควบคุมที่รองรับระบบ IoT อย่าง HX Series(2) ซึ่งจะทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ Azure(3) Dynamics 365 และ Microsoft 365 เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจเพิ่มความสามารถในการผลิตด้านทรัพยากรบุคคล และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้มากขึ้น อีกทั้ง ฮิตาชิและไมโครซอฟท์จะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนแนวทางเสริมทักษะที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัล และเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ Lumada เป็นโซลูชัน บริการ และเทคโนโลยีดิจิตทัลขั้นสูงที่แปรข้อมูลให้เป็นองค์ความรู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ฮิตาชิจะให้การสนับสนุนโซลูชันใน 3 สายงานต่อไปนี้ • เพิ่มความสามารถในการผลิต โดยใช้ “Hitachi Digital Supply Chain” รวมทั้ง Azure IoT ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ 4M(4) จากโรงงาน ให้ได้มาซึ่งการสร้างภาพจำลองและการวิเคราะห์กระบวนการผลิต เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของโรงงานให้ดีที่สุดและเพิ่มความสามารถในการผลิต • พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเพิ่มประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์และลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานด้วยการวิเคราะห์สภาพการจราจร ที่ตั้งคลังสินค้า และตำแหน่งการจัดส่ง รวมทั้งใช้งานการหาเส้นทางอัจฉริยะเพื่อประหยัดระยะทางและทำการจัดส่งได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิตัลชั้นสูง เช่น Azure Maps และ “โซลูชั่นดิจิตัลของฮิตาชิ เพื่อบริการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในสายโลจิสติกส์/การส่งสินค้า(5) (Hitachi Digital Solution for Logistics/Delivery Optimization Service)”
• การคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรและการช่วยเหลือทางไกล โดยสามารถคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรและการช่วยเหลือระยะไกลแบบเรียลไทม์ รวมทั้งสถานการณ์สำหรับการฝึกอบรมทางไกลเพื่อการเสริมสร้างทักษะให้แก่พนักงานระดับปฎิบัติการ ผ่าน HoloLens 2(6) และ Dynamics 365 Remote Assist(7) และอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ
สำหรับแผนในอนาคต ฮิตาชิมุ่งมั่นที่จะต่อยอดธุรกิจไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ไมโครซอฟต์และฮิตาชิวางแผนที่จะขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมภาคธุรกิจอื่นๆ นอกจากนั้น ฮิตาชิและไมโครซอฟต์จะเริ่มหารือในประเด็นการบูรณาการแพลตฟอร์ม Lumada และ Azure ให้เป็นแพลตฟอร์มทางข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าของทั้งสองบริษัทอีกด้วย
นายจุน อาเบะ รองประธานและกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจอุตสาหกรรมและการกระจายประจำ บริษัท ฮิตาชิ กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้ขยายความร่วมมือร่วมกับไมโครซอฟต์ และได้ผสานนวัตกรรม OT และ IT รวมทั้งความเป็นเลิศด้านผลิตภัณฑ์เพื่อนำเสนอโซลูชันทางดิจิทัลให้แก่บริษัทด้านการผลิตและโลจิสติกส์ เราใช้แพลตฟอร์ม Lumada เพื่อนำเสนอโซลูชันแบบบูรณาการในการตอบโจทย์ความท้าทาย โดยเชื่อมไซเบอร์สเปซเข้ากับโลกความเป็นจริง(Physical space) ความร่วมมือกับไมโครซอฟต์จะช่วยให้เราสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัลของลูกค้า และสานต่อความทุ่มเทนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ”
ในขณะที่นาย ชาเลอัน อาร์คาน รองประธานฝ่ายอุตสาหกรรมของไมโครซอฟต์ กล่าวว่า “การสร้างความแข็งแกร่งและซัพพลายเชนดิจิทัลที่มีความคล่องตัวมีความสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การขยายความร่วมมือกับฮิตาชิจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ให้แก่บริษัทในสายการผลิตและโลจิสติกส์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ต่างมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมของตน รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มในภาคธุรกิจด้วยแนวคิดขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและขีดความสามารถทางดิจิทัล”(1) Lumada: ชื่อเรียก สำหรับโซลูชัน บริการ และเทคโนโลยีที่ฮิตาชิได้พัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูลของลูกค้าและเร่งนวัตกรรมดิจิทัล
http://www.hitachi.com/products/it/lumada/global/en/index.html
(2) HX Series: ชุดควบคุมอุตสาหกรรมที่พร้อมใช้กับระบบ IoT ยุคใหม่ ซึ่งสนับสนุนการควบคุมทันทีและการประมวลผล
https://www.hitachi.com.sg/ice/products/controller/hx-series/index.html
(3) Azure: แพลตฟอร์มคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ซึ่งมี Azure ถึง 60 ภูมิภาคทั่วโลก
(4) 4M: huMan, Machine, Material, Method หรือมนุษย์ เครื่องจักร วัสดุ แนวทาง
(5) ข่าวประชาสัมพันธ์ของฮิตาชิเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 “ฮิตาชิเปิดตัว “โซลูชั่นดิจิทัลของฮิตาชิเพื่อบริการเพื่อบริการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในสายโลจิสติกส์/การส่งสินค้า” ซึ่งสร้างแผนการรับ-ส่งที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้งาน AI และ IoT”
http://www.hitachi.com/New/cnews/month/2019/02/190228.html
(6) HoloLens 2: แว่น AR พร้อมภาพโฮโลกราฟฟิกและเซ็นเซอร์ในตัว ซึ่งช่วยยกระดับ AI และโลกความจริงร่วมกัน
(7) Dynamics 365 Remote Assist: โซลูชันสนับสนุนระยะไกลของไมโครซอฟท์สำหรับพนักงานระดับปฎิบัติการ
เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มุ่งมั่นถ่ายทอดนวัตกรรมที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยผสมผสานเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ(OT) เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตภัณฑ์/ระบบ เข้าด้วยกัน รายได้ตามบัญชีงบประมาณของบริษัทเมื่อปีงบ 2562 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563) คิดเป็นจำนวน 8,767.2 พันล้านเยน (80.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) กลุ่มฮิตาชิมีพนักงานประมาณ 301,000 คนทั่วโลก ฮิตาชินำเสนอธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ลูมาด้า(Lumada) ใน 5 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ระบบการขับเคลื่อน (mobility) สมาร์ทไลฟ์ อุตสาหกรรม พลังงาน และไอที ความมุงมั่นของฮิตาชิ คือ นำเสนอโซชูชั่นส์ที่เพิ่มมูลค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้แก่ลูกค้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮิตาชิ เข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทที่ http://www.hitachi.com
เกี่ยวกับไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @microsoft) เป็นผู้ขับเคลื่อนการปฎิรูปด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ในโลกแห่งอัจฉริยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ที่ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วทุกมุมโลกได้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า
ชื่อบริษัทและชื่อผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ปรากฏในด้านบนคือชื่อทางการค้าหรือชื่อทางการค้าที่จดทะเบียนของบริษัทตามลำดับ