คณะกรรมาธิการการพลังงานฯ เยี่ยมชมโรงงานกลุ่มบริษัทโชคนำชัย และ สกุลฏ์ซี อินโนเวชั่น ชมการผลิต “รถ ราง เรือ ไฟฟ้า” ที่เดียวในไทย

คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการ และนายแพทย์ระวี มาศฉมาดล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพลังงาน และประธานคณะอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า เยี่ยมชมการดำเนินงาน และการผลิตพาหนะไฟฟ้า ฝีมือคนไทย ของกลุ่มบริษัทโชคนำชัย และบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด โดยมี นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกลุ่มบริษัทโชคนำชัย และบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ให้การต้อนรับ

โรงงานผลิตมาตรฐานสากลรายเดียวของไทย ที่มีความสามารถพิเศษที่ยังไม่มีที่ไหนทำได้ คือ ความสามารถในการประกอบรถโดยสารทุกขนาด, เรือขนาดใหญ่ รวมถึงรถไฟได้ในโรงประกอบเดียว โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเทียบเท่าค่ายรถยนต์ชั้นนำ เช่น เทคโนโลยีการออกแบบแม่พิมพ์เชิงวิศวกรรม (Vehicle Design Engineering), เทคโนโลยีการผลิตเชิงวิศวกรรมชั้นสูง (Advance CAD/CAM/CAE Technology), การออกแบบและผลิตแม่พิมพ์รถยนต์ชั้นสูง (Advance Die Design Manufacturing), การใช้วัสดุสมัยใหม่ (Advance Material Technology), เทคโนโลยีการผลิตและการประกอบ (Manufacturing & Production Technology) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการพัฒนาเองภายในบริษัททั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือผู้ชำนาญการจากต่างประเทศ ในส่วนของกำลังการผลิตรถโดยสาร มีกำลังการผลิตรถโดยสารได้ถึงวันละ 24 คัน หรือกว่า 7,000 คัน/ปี นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมพื้นที่สำหรับวางรางรถไฟ และไกด์เวย์สำหรับทดสอบรถไฟ ระบบราง และรถไฟล้อยางอีกด้วย

นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากที่ได้รับข้อมูลว่ามีบริษัทในไทยที่สามารถผลิตรถ ราง เรือ ไฟฟ้า ได้ในที่เดียว วันนี้ได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจากการมาเยี่ยมชมได้พบการใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นของคนไทย รู้สึกยินดีที่ได้เห็นผู้ประกอบการไทย มีการพัฒนาและยกระดับความสามารถให้กับการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าด้วยฝีมือคนไทย เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความปลอดภัยมาเป็นตัวนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งทางบก และทางน้ำ โดยเฉพาะ รถโดยสาร เรือโดยสาร

นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ได้พาชมสายการผลิตที่กำลังผลิตเรือไฟฟ้าวิ่งทะเลโดยมีกำหนดส่งมอบให้ลูกค้าภายในสิ้นปี รวมถึงความพร้อมของสายการ ผลิตรถโดยสารที่ใช้หุ่นยนต์ประกอบและพ่นสีกว่า 30 ตัว ที่เตรียมเริ่มผลิตและส่งมอบรถให้กับลูกค้าในช่วงสิ้นปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีรถเมล์ขสมก.ที่ดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้าภายใต้โครงการพัฒนารถโดยสารประจำทางในประเทศไทย (รถเมล์ไฟฟ้า 12 เมตร) ซึ่งร่วมมือกับขสมก., กฟน. และสวทช. โดยเพิ่มเติมการเปลี่ยนตัวถังให้เป็นอลูมิเนียมที่มีน้ำหนักเบาทั้งหมดเพื่อให้ขสมก.ได้รถไฟฟ้าที่ใช้วัสดุสมัยใหม่เต็มรูปแบบ ซึ่งในส่วนรถเมล์ไฟฟ้าของขสมก. หากมีโอกาสได้ผลิต ทางบริษัทฯ ได้เตรียม Supply Chain ไทยกว่า 200 บริษัท เพื่อรองรับการผลิตแบบ Mass Production ซึ่งจะร่วมผลิตตัวถังและใช้อุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ภายในประเทศทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าตัวถังหรือแยกชิ้นส่วนจากต่างประเทศ แล้วนำเข้ามาประกอบร่วมในไทย

You May Also Like

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *